คนไทยดำรงชาติสร้างเอกราชมาได้อย่างยาวนาน ไม่เป็นเมืองขึ้นหรือถูกฆ่าฟันสิ้นชาติสูญเผ่าไป เพราะมีความสามารถในการทำศึก และมีวิทยาการด้านการต่อสู้ที่ยอดเยี่ยม ในยามสงบบรรพชนก็ได้สร้าง ขนบ ธรรมเนียม ประเพณี ทำนองยุทธ์ เพื่อใช้เป็นวิธี ฝึกฝนฝีมือให้ช่ำชอง, ฝึกฝนร่างกายให้แข็งแกร่ง, ฝึกฝนจิตใจให้หาญสู้,
วิทยายุทธ์ด้านการต่อสู้ด้วยมือเปล่าที่ยอดเยี่ยมที่ชาวโลกยอมรับคือมวยไทย และมวยไทยได้มีการสร้างกติกาที่ปรับลดความรุนแรงลง จนกลายเป็นกีฬาอาชีพได้ และยังคงเป็นการต่อสู้ที่เห็นผลจริงและยังคงมีลักษณะเด่นของความเป็นไทย ทำให้มีการฝึกฝนและสืบต่อกันอย่างกว้างขวาง ทั้งในเมืองไทยและในเมืองนอก จนกลายเป็นธุรกิจใหญ่ระดับโลก มีค่ายมวยไทยในโลกมากกว่าสองหมื่นแห่ง ส่วนวิทยายุทธ์ด้านการต่อสู้ด้วยอาวุธที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้กันเลย คือกระบี่กระบองแบบต่อสู้จริงคือตีแบบประลองยุทธ์ หรือตีประ หรือตีป่า ที่คนไทยในทุกวันนี้แทบไม่มีใครรู้จักการต่อตีดาบไทยกันแล้ว เพราะกระบี่กระบองที่เขาเห็นกันในเวลานี้คือการแสดงที่ไม่ใช่การต่อสู้จริง ในวันนี้มีชาวต่างชาติที่เห็นคุณค่าของมวยไทยแล้ว เชื่อในศิลปะไทย เขาเข้ามาศึกษากระบี่กระบองแล้วผิดหวังที่ได้พบว่า ไม่สามารถใช้งานได้จริง บางคนก็ดูถูกกระบี่กระบองไทย บางคนพยายามถามหาความจริงแท้ของวิทยายุทธ์ดาบไทย ที่มีคนตอบได้น้อยมากเพราะดาบไทยขาดการสืบสานมานาน
นายกสมาคมครูมวยไทยคุณ ชินวุธ ศิริสัมพันธ์ ผู้เป็นประธานสหพันธ์มวยโบราณโลก มองเห็นปัญหานี้จึงได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้อง จัดประชุมขึ้นที่ค่ายมวย ลูกทัพฟ้า เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ในการประชุมครั้งนั้นได้จัดตั้งชมรมดาบไทยขึ้น และได้มอบหมายให้ข้าพเจ้าที่เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกีฬาภูมิปัญญาไทยกระทรวงวัฒนธรรม และเป็นนักดาบคณะกตัญญูรักษ์ที่สืบต่อกระบี่กระบองแบบต่อสู้จริง ให้เป็นประธานชมรมดาบไทย
ชมรมดาบไทย ประกอบขึ้นด้วยผู้ที่มีความใฝ่ใจในวิทยายุทธ์กระบี่กระบองไทยหลายฝ่าย มีตัวแทนจากสำนักดาบที่มีชื่อหลายสำนัก พวกเราสร้างเป้าหมายร่วมกันว่าจะสร้างการแข่งขันดาบไทยที่ทุกคนยอมรับได้ เพราะการทำให้วิทยาการดาบไทยคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน และมีผู้อยากฝึกฝนให้สืบต่อได้อย่างไม่ขาดสายก็ต้องทำเช่นเดียวกับมวยไทย นั่นคือ ต้องมีการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง การที่จะมีคนยอมเสียสละเวลามาฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง นั่นก็คือต้องทำให้เป็นอาชีพได้ นั่นคือจะต้องมีกติกาที่ดี มีความปลอดภัยพอสมควร ยุติธรรม มีวิธีตัดสินที่แม่นยำมีมาตรฐาน ผู้ชมมีความสนุกสนานตื่นเต้น เพราะต่อตีได้สมจริง และมีท่วงทำนองที่สืบทอดลักษณะเด่นของความเป็นกระบี่กระบองไทย ทำให้มีความแตกต่างจากศิลปะการต่อสู้ของชาติอื่น ทั้งรูปแบบประเพณีการต่อสู้,การแต่งกาย,ท่วงทำนองรบ,ภาษา,การมีปี่กลอง เพื่อสร้างความยอมรับให้กลายเป็นกีฬาอาชีพเหมือนมวยไทย พวกเราได้ประชุมร่วมกันหลายครั้ง ได้ทดลองต่อสู้ในรูปแบบต่างๆ และสร้างกติกาขั้นต้นขึ้น (ดูกติกาฉบับย่อได้ในเอกสารแนบ)
จากนั้นก็มีงานแถลงข่าว มีการแสดงสาธิตการต่อสู้ตามกติกาที่สร้างขึ้น
เมื่อพร้อมแล้วทุกฝ่ายก็ได้ร่วมกันจัดการแข่งขันชิงแชมป์ดาบไทยขึ้น
* การแข่งขันดาบไทยครั้งแรก ในงานมหกรรมศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวเอกลักษณ์ไทยสู่นานาชาติครั้งที่ ๑
โดยกำหนดจัดแข่งขันครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๙ – ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๙ ในงานไหว้ครูมวยไทยนานาชาติ ที่มีนักมวยไทยชาวต่างชาติเข้ามาร่วมงานหลายสิบประเทศ ผู้เข้าแข่งขันได้แก่นักดาบจากสำนักต่างๆทั้งในสายของคณะกรรมการและจากคนภายนอก รวมถึงชาวต่างประเทศที่มาร่วมไหว้ครูมวยไทย คณะกรรมการตัดสินก็มาจากคณะกรรมการในชมรมดาบไทย และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่ได้เชิญมาเช่น จากกรมพละศึกษา จากสมาคมกีฬาไทย ฯลฯ โดยมีนายกสมาคมครูมวยไทยเป็นผู้อุปถัมภ์ด้านค่าใช้จ่ายทั้งหมด
การแข่งขันครั้งนี้จัดแข่งที่หน้า มาบุญครอง แข่งขันตามกติกาที่สร้างขึ้นและเผยแพร่ออกไป โดยจัดแข่งเป็น ๓ ยกๆละ ๒ นาทีพัก ๑ นาที ต่อตีต่อเนื่องแบบมวยไทย มีปี่กลองและการรำไหว้ครู มีกรรมการให้คะแนนสี่ท่านรอบเวทีสี่ด้าน สังเวียนมีขนาด ๗ x ๗ เมตร มีนักกีฬารุ่นต่างๆเข้าแข่งทั้งฝ่ายหญิง ฝ่ายชาย รวม ๕๕ รายชื่อ เป็นชาวต่างชาติลงสมัคร ๑๒ คน จาก ๔ ประเทศคือ อินเดีย อังกฤษ เยอรมัน อุเบคิชสถาน มีผู้ชมมากมายทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
และรางวัลที่ได้ |
สรุปผลการจัดการแข่งขัน
แม้เป็นการจัดแข่งครั้งแรก ที่การจัดการยังไม่สมบูรณ์ สนามแข่ง ๗ x ๗ เมตรเล็กเกินไป ทำให้กรรมการต้องเข้าห้ามบ่อย แต่การแข่งขันครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างมากจน อังกฤษ ฝรั่งเศส และประเทศอื่น ทำการสร้างสำนักดาบและฝึกตามกติกาการแข่งขันที่เราตั้งขึ้น เพื่อจะมาชิงตำแหน่งยอดนักดาบนานาชาติในปีหน้า จึงขอเรียนเชิญพี่น้องไทยเข้ามาร่วมกันแข่งขันดาบไทย เพื่อเตรียมการรับศึกในเดือนมีนาคมปีหน้า
(ดูตัวอย่างคลิปการแข่งขันได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=IpKrXS_1hxU = คลิปแข่งดาบสองมือของเด็กนักเรียนรุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี, https://www.youtube.com/watch?v=mYhsZVRDTME&feature=youtu.be = คลิปแข่งดาบสองมือ เป็นการต่อตีกันอย่างต่อเนื่อง เรียกเสียงเชียร์จากผู้ชมที่พอใจ … ฯลฯ)
* การแข่งขันดาบไทยครั้งที่สอง การแข่งขัน ชิงแชมป์ประเทศไทย
จากความพยายามสร้างความต่อเนื่องในการแข่งขัน และจากความช่วยเหลือของนายกสมาคมครูมวยไทย ในที่สุดพวกเราได้มีโอกาสสร้างการแข่งขันครั้งใหม่ ที่จัดในห้างเดอะไนน์พระรามเก้า เมื่อ ๑๐ – ๑๑ กันยายน ๒๕๕๙ ส่วนหนึ่งของคำกล่าวเปิดงานมีดังนี้
… … -ชมรมดาบไทย มีเป้าหมาย เพื่อสร้างการแข่งขันดาบแบบไทย ให้เป็นกีฬาสากล ที่นิยมแข่งขันกันอย่างแพร่หลาย -มีหลักการในการใช้ ขนบธรรมเนียมประเพณี การแต่งกาย ดนตรี ที่ชาวกระบี่กระบองไทย ได้ใช้สืบต่อกันมายาวนาน เป็นเครื่องสร้างความโดดเด่น -มีจุดมุ่งในการสร้างคน ให้มีร่างกายดี แข็งแรง มีฝีมือช่วยป้องกันผู้อื่นได้ ให้มีความคิดดี มีน้ำใจเชิงรุก กล้าสู้ กล้าแข่งขันกับชาวโลกในทุกกิจกรรม และให้มีจิตใจดี มีขวัญกล้า มีมารยาท มีวินัย มีใจเป็นนักกีฬา -และจุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดคือ การสืบทอดความรู้และศิลปะการต่อสู้ด้วยอาวุธแบบไทย ให้อยู่ยั่งยืน ดังเช่นมวยไทยที่เป็นที่ยอมรับ และโด่งดังไปทั่วโลกแล้ว
ชมรมดาบไทย ได้เข้าร่วมงานกับสมาคมครูมวยไทย จัดการแข่งขันดาบไทยนานาชาติ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จดี มีชาวต่างชาติเข้าร่วมแข่งหลายประเทศ และพวกเขา กำลังตั้งค่ายดาบไทย ในต่างแดนขึ้นหลายค่าย เพื่อจะมาแข่งกับพวกเราในปีต่อๆไป เป็นหน้าที่ของพวกเรา ที่ต้องพัฒนาฝีมือ อย่าให้พ่ายแพ้แก่ชาวต่างแดน การมีสนามแข่งขันในวันนี้และในวันต่อๆไป คือเครื่องมือที่จำเป็นและสำคัญในการพัฒนากีฬาดาบไทย ให้ดังไกลก้องโลก … …
พิธีเปิดงาน พิธีเปิดงาน
ในงานนี้นอกจากมีแข่งต่อสู้แล้ว ได้จัดให้มีการประกวดรำหมู่ด้วย โดยให้ใช้ผู้แข่งไม่เกิน ๖ คน และให้เวลา ๔นาที ท่าที่รำไม่จำกัด คณะที่รำได้สวยงาม พร้อมเพรียงกันเป็นผู้ชนะ อาวุธที่รำประกวดมี กระบี่(หรือดาบเดี่ยว) ดาบสองมือ ง้าว มีคณะกระบี่กระบองที่มีชื่อเสียง ๕ คณะลงแข่งได้แก่ รร.ธนบุรีวรเทพีพลารักษ์ , รร.สตรีนนท์บุรี, รร.วัดเขมาภิรตาราม, คณะพุทไธสวรรย์กาญจนบุรี(ทีม BSK), รร.วัดนวลนรดิษฐ์(ทีมวัฒนธรรมคลองบางหลวง), คณะพุทไธสวรรย์กาญจนบุรีมีเครื่องแต่งกายแบบไทยที่น่าดู เพราะเป็นทีมแสดงภาพยนตร์เรื่องพระนเรศวร คณะอื่นๆที่ชนะจากการประกวดในที่ต่างๆ ก็มีเครื่องแต่งกายที่สวยงามเช่นกัน
ประกวดรำดาบสองมือ ประกวดรำดาบสองมือ
ประกวดรำง้าว ประกวดรำง้าว
ประกวดรำกระบี่
แข่งดาบเดี่ยว หญิง แข่งดาบเดี่ยว ชาย
แข่งดาบคู่ แข่งดาบคู่
ผู้เข้าชม ผู้ชมท่านนี้นั่งดูตลอดงานทั้งวัน
รางวัลที่ได้ พิธีปิดงาน
ตัวอย่างคลิปการต่อสู้ที่ได้จัดเผยแพร่เช่น
– แข่งดาบคู่ รุ่นเล็ก https://youtu.be/3cAtjWtqpoo นักกีฬาต่อตีกันกลางสังเวียนดี วิทยาการดาบไทยคงอยู่ได้ยั่งยืน
– แข่งดาบคู่ https://youtu.be/e7EtEYPzUNI ตีต่อเนื่องอยู่ในเขตสังเวียนดี จังหวะปี่กลองที่เร้าใจ ทำให้มีการย่ำเท้าเข้าจังหวะ
– แข่งดาบคู่ https://youtu.be/i1cEaicZgfY ต่างฝ่ายแสดงฝีมือเต็มที่ ต่อกรกันได้ดี เป็นการต่อตีของมือสมัครเล่น ที่จะนำสู่มืออาชีพ
ตัวอย่างคลิปการรำอาวุธที่ได้จัดเผยแพร่เช่น
รำกระบี่ของ
ทีมวัฒนธรรมคลองบางหลวง https://www.youtube.com/watch?v=rAK3mkzJFDI
คณะพุทไธสวรรค์กาญจนบุรี https://youtu.be/jbajhehcvjs ทีม รร.ธนบุรีวรเทพีพลารักษ์ https://youtu.be/tRFRVJfev9k
ทีม รร.เขมาภิรตาราม https://www.youtube.com/watch?v=nkQ18rBfNiM&feature=em-upload_owner
รำดาบคู่ของ
รร.เขมาภิรตาราม https://youtu.be/Fjr9QRsMbH8 ของ รร.ธนบุรีวรเทพีพลารักษ์ https://youtu.be/A6OvAnugS3A
คณะพุทไธสวรรค์กาญจนบุรี https://youtu.be/0h8WsV70iXk ทีมวัฒนธรรมคลองบางหลวง https://youtu.be/bFI88gQZZtk
รำง้าวของ
คณะพุทไธสวรรค์กาญจนบุรี https://youtu.be/EzmHxUsmlhA รร.สตรีนนท์บุรี https://youtu.be/lZOIDLUSKWQ
ทีมวัฒนธรรมคลองบางหลวง https://youtu.be/QgbQY0k-dNQ รร.เขมาภิรตาราม https://youtu.be/KxDG6-65xsM
สรุปผลการจัดการแข่งขัน
– สังเวียนต่อสู้เป็น ๘ x ๘ เมตร นักกีฬามีพื้นที่ออกลีลาดาบไทยได้มากขึ้น แต่ยังแคบไปเล็กน้อย
ควรเป็น ๙ x ๙ เมตร เพื่อไม่ต้องให้กรรมการเป็นกังวลว่าการต่อสู้กำลังจะหลุดออกนอกเวที
– นักกีฬามีลีลาดาบไทยมากขึ้น มีการต่อตีต่อเนื่องมากขึ้น มีพัฒนาการด้านฝีมือดีขึ้นกว่าการจัดแข่งครั้งแรก
– นายกสมาคมครูมวยไทยเป็นผู้อุปถัมภ์ด้านค่าใช้จ่ายทั้งหมดเช่นเคย
* การแข่งขันดาบไทยครั้งที่สาม งานมหกรรมศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวเอกลักษณ์ไทยสู่นานาชาติครั้งที่ ๒
จากความช่วยเหลือของนายกสมาคมครูมวยไทย ในที่สุดนักดาบไทยทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ก็ได้มีโอกาส
แข่งขันกันอีก ในงานไหว้ครูมวยไทยและงานมหกรรมศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวเอกลักษณ์ไทยสู่นานาชาติครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๘- ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๐ การจัดการแบ่งกลุ่มแบ่งสายดีกว่าครั้งก่อน มีการแข่งรำเช่นดาบโล่ และอื่นๆ
พิธีเปิด
สังเวียนต่อสู้ยกระดับ
ใส่เครื่องแต่งกายไทยมาสู้
สรุปผลการจัดการแข่งขัน
– พื้นที่สังเวียนต่อสู้ มีการยกระดับขึ้น มีกรรมการไม่เห็นด้วยเพราะอาจเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้จากพื้นต่างระดับ
– มีนักดาบยอมรับมากขึ้น มีผู้เข้าแข่งขันจากสำนักดาบ และคนภายนอกกลุ่มอื่นๆเข้ามาร่วมมากขึ้น
– มีนักดาบไทย ชาวต่างชาติ ที่เตรียมตัวตั้งใจฝึกมาเข้าแข่งจำนวนมากขึ้น ชาวต่างชาติมีฝีมือก้าวหน้าขึ้นอย่างชัดเจน จนได้เข้ารอบสุดท้าย มีกองเชียร์ชาวต่างชาติมาส่งเสียงให้กำลังใจกันมากมาย
– สถานที่จัดแข่งเป็นลานปูนกลางแจ้ง ในสนามกีฬาแห่งชาติ กลางวันร้อนมาก ต้องจัดแข่งตอนเย็น จนถึงเที่ยงคืน มีปัญหาการจัดการมาก ผู้ชมมีน้อยกว่าครั้งก่อนๆ
สรุปสถานะภาพดาบไทยในเวลานี้
การแข่งขันดาบไทย กำลังได้รับความสนใจมาก โดยเฉพาะชาวต่างประเทศ พวกเขากำลังตั้งใจฝึกดาบไทยอย่างจริงจัง เป็นหน้าที่ของพวกเรา ที่ต้องพัฒนาฝีมืออย่าให้พ่ายแพ้เขา เพื่อไม่ให้ขายหน้ากับชาวต่างชาติ และต้องสร้างความพร้อมในด้านต่างๆ สิ่งหนึ่งก็คือการมีสนามแข่งขันที่เหมาะสม ในวันนี้นักกีฬาดาบไทยไม่มีที่แข่งขัน ในการแข่งขันครั้งที่ผ่านมา เมื่อห้างไม่ให้ที่เราต้องไปจัดแข่งในที่ที่ไม่เหมาะสม จังหวัดอยุธยาคือแหล่งสร้างนักดาบไทยในประวัติศาสตร์มายาวนาน การจัดการแข่งขันดาบไทยในอยุธยา คือการฟื้นอดีตที่รุ่งเรืองให้กับชาติไทยได้อย่างน่าภาคภูมิใจ และเป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวและผู้คนของอยุธยาได้ดี เชื่อว่าท่านมีความสามารถในการหาพื้นที่แข่งขันที่เหมาะสม และสามารถช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่จำเป็นได้
นักดาบไทยทั้งหลาย ขอคารวะต่อท่านผู้มีอุปการคุณทุกท่าน
ขอแสดงความนับถือ
นาย อรชุน แก้วกังวาล